คำว่า "กอทิก" ของ สถาปัตยกรรมกอทิก

ด้านหน้ามหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์

คำว่า "กอทิก" เมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมมิได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาวกอทในประวัติศาสตร์ แต่เป็นคำที่เป็นเชิงดูหมิ่นถึงลักษณะสถาปัตยกรรม ที่นำมาใช้ราวคริสต์ทศวรรษ 1530 โดยจอร์โจ วาซารีในการบรรยายวัฒนธรรมที่ถือว่าหยาบและป่าเถื่อน[1] ในสมัยที่วาซารีเขียนอิตาลีกำลังอยู่ในสมัยของความรุ่งเรืองทางสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกที่ถือกันว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นสูง ในที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดทางสถาปัตยกรรมและเป็นยุคทองแห่งการแสวงหาความรู้

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ในที่สุดก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ ของวัฒนธรรมก่อนหน้าการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ เน้นความสนใจในทางศาสนา และมีความเห็นว่าสมัยก่อนหน้านั้นเป็นสมัยของความงมงายและความขาดความรู้ ซึ่งเป็นที่มาของบทเขียนของฟร็องซัว ราบแล (François Rabelais) นักเขียนชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ใน "Gargantua and Pantagruel" ซึ่งเป็นนวนิยายที่กล่าวถึงแอบบีเทเลเม ที่บนประตูทางเข้ามีคำจารึกว่า "เทวสถานนี้ไม่อนุญาตสำหรับผู้เสรแสร้ง, ผู้ลำเอียง..." ที่เป็นนัยยะถึง "กอท" และ "และออสโตรกอท" ที่ถือว่าเป็นคนป่าเถื่อนเข้า[2]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 การใช้คำว่า "กอท" ในอังกฤษเท่ากับการใช้คำว่า "แวนดัล" ซึ่งเป็นกลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิคผู้นิยมการทำลายทรัพย์สินและสิ่งของ และกลายมาเป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมของทางตอนเหนือของยุโรปก่อนที่จะมาฟื้นฟูลักษณะสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกกันขึ้น

จากข้อเขียนในจดหมายที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในนิตยสาร Notes and Queries ในลอนดอนกล่าวว่า:

ไม่เป็นสิ่งที่ต้องสงสัยเลยว่าคำว่า "ฟร็องซัว ราบแล" เป็นคำที่ใช้บรรยายลักษณะการก่อสร้างศาสนสถานในเชิงดูหมิ่น โดยผู้ที่มีความทเยอทยานในการเลียนแบบและฟื้นฟูสถาปัตยกรรมแบบกรีก หลังจากการฟื้นฟูวรรณกรรมคลาสสิกแล้ว นอกจากนั้นผู้มีอิทธิพลเช่นคริสโตเฟอร์ เรนก็ยังมีส่วนช่วยในการลดคุณค่าของลักษณะสถาปัตยกรรมของยุคกลาง ซึ่งทำให้คำว่ากอทิกมามีความหมายเช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่หยาบและป่าเถื่อน

.[3][4]

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1710 สถาบันสถาปัตยกรรมก็ประชุมกันในปารีส ในบรรดาหัวข้อที่ถกเถียงกันที่เป็นที่สังเกตของที่ประชุมคือแนวโน้มของความนิยมในการใช้โค้งนูนโค้งเว้า "ในการก่อสร้างส่วนที่ปกคลุมตอนปลายของปล่องไฟ ซึ่งเป็นลักษณะที่คณะที่ประชุมไม่เห็นด้วยและถือว่าเป็นแบบที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นลักษณะที่ออกไปทางกอทิก"[5]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์